กสิกรฯคาดบาทปีหน้าที่32.00-32.50-เตือนผันผวนหนักจากปัจจัยต่างประเทศ

ข่าวล่าสุด

 

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย(KBANK ) กล่าวว่า ธนาคารประเมินแนวโน้มเงินบาทในปีหน้าที่ระดับ 32.00-32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯใกล้เคียงกับระดับปัจจุบัน แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ยังกลับมาฟื้นตัวได้ไม่มากนัก ทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดคาดการณ์เกินดุลเพียงเล็กน้อยตามคาดการณ์ที่ประมาณ 500กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น จากประมาณการนักท่องเที่ยวในปีหน้าที่ 2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่ 180,000 คนในปีนี้ซึ่งยังต่ำกว่าระดับ 40ล้านคนในช่วงก่อนสถานการณ์โค​วิด19 ขณะที่ประมาณการจีดีพีปีหน้าเติบโตที่ 3.7% จากปีนี้ที่0.2%

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศมาจากความกังวลในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และการปรับวงเงินการซื้อสินทรัพย์(QE)ของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เกิดความผันผวนของเงินทุน ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดนั้น คาดการณ์ว่าจะปรับขึ้น 1ครั้งในปีหน้าโดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเป็นผลมาจากฝั่งอุปทาน ขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการชะลอกำลังซื้อในฝั่งอุปสงค์ ดังนั้น หากทางฝั่งอุปทานแก้ปัญหาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ภาวะปกติได้ ทั้งนี้ การปรับลด QE และแนวโน้มขาขึ้นของดอกเบี้ยเฟดจะเป็นปัจจัยหนุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ให้ดอลลารยัง์แข็งค่าอยู่

“ในปีนี้การอ่อนค่าของเงินบาทที่ค่อนข้างมากมาจากสถานการณ์โควิดที่มีความรุนแรงทำให้ต้องปิดเมืองยาวนาน ประกอบกับในประเทศมีการขาดดุลแฝดคือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจากรายได้การท่องเที่ยวที่แทบไม่มี และการขาดดุลงบประมาณที่รวมกันแล้วประมาณ 6.5%ของจีดีพี ขณะที่ทิศทางเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นจากแนวโน้มเศรษฐกิจที้ฟื้นตัว ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก แต่ในปีหน้าแม้ทิศทางในประเทศเราดีขึ้นจากการเปิดประเทศแต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยังต้องได้รับการคลี่คลายและยังไม่มีความแน่นอน อาท ิการกลับมาของโควิดฯ นักท่องเที่ยวกลุ่มหลักของไทยอย่างจีนก็ยังไม่น่าจะกลับมาได้เร็วๆนี้ เป็นต้น ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ การลดการทำ QEของสหรัฐฯแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯเป็นปัจจัยทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่า จึงเป็นปัจจัยที่กดดันเงินบาทอยู่ และทำให้ตลาดเงินมีความผันผวนขึ้นในปีหน้า”

ด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น มองว่าจะยังทรงตัวในระดับเดิมในปีหน้า เนื่องจากยังมีปัญหาในประเด็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความปัจจัยความไม่แน่นอนอยู่ ขณะที่หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจนเกือบแตะเพดานก็กดดันการอุปโภคอยู่แล้วดังนั้น จึงคาดว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเกิดขึ้นได้เมื่อภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ก่อน